วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
ศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
วันพุธที่ 2 มีนาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ

โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์มีห้องเรียน อนุบาล 3 ขวบ อนุบาลปีที่ 1 อนุบาลปีที่ 2 และระดับชี้นประถมศึกษา1-6 

หลักสูตรของโรงเรียนมีคุณภาพ ทันสมัย เป็นไปตามความรู็ที่พึงประสงค์ โรงเรียนมีมาตรฐาน และได้คะแนนดีมากในทุกเกณฑ์มาตรฐาน

การเรียนการสอนมี 2 แบบ คือ
Mini English Program
ห้องเรียนปกติ

แนวคิดที่นำมาใช้
-พัฒนาการเด็ก
-แนวคิดการเลี้ยงดู
-แนวคิดการเล่น(เล่นอย่างมีความหมาย เกิดพฒนาการ)
-แนวคิดวัฒนธรรม สังคม

นวัตกรรม
-มอนเตอร์เซอรี่
-Project Approach
-ภาษาธรรมชาติ
-วอร์ดอฟ

6 กิจกรรมหลัก
เคลื่อนไหว  เสริมประสบการณ์(วงกลม) สร้างสรรค์ เล่นเสรี/ตามมุม กลางแจ้ง  เกมการศึกษา


เน้นพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน


คุณครูให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนแบบ Project approach
ใน 1  ปี สอน 2 เรื่อง
เป็นการจัดประสบการณ์ตามความสนใจของเด็ก เด็กได้ศึกษาสือบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบขั้นตอน
โครงสร้าง
1. การอภิปราย การสนทนาร่วมกัน
2. การทำงานภาคสนาม ประสบการณ์ตรง ศึกษานอกสถานที่
3. การนำเสนอประสบการณ์
4. การสืบค้น การค้นหาคำตอบ
5. การจัดแสดง

มี 3 ระยะ
ขั้นที่ 1 ระยะเริ่มต้น การหาหัวเรื่อง ครูเปิดโอกาสให้เด็กตั้งคำถาม ครูบันทึกคำพูด บันทึกคำถาม
ขั้นที่ 2 ระยะดำเนินโครงการ หาความรู้ด้วยหลากหลายวิธี
ขั้นที่ 3 สรุปโครงการ ทบทวนบทเรียน เด็กสามารถสร้างสรรค์ความรู้ให้ตัวเองได้

การทำแผนภูมิเพื่อการนำเสนอ
- mind mapping
-tree diagram
-venn diagram
-graph

ช่วงบ่ายมีคุณครูศิริประภาพรรณ  ตุ้มวิจิตร มาสอนเรื่อง การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย)

ความสำคัญด้านวิทย์ในระดับปฐมวัย
1. ด้านเศรษฐกิจ
2. ประเมินผลระดับนานาชาติ
3. การพัฒนาทางจิตวิทยา





























วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
 วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
เวลา 14.30-17.30  น.

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้เราได้ทำท่าบริหารสมอง













จากนั้นอาจารย์ก็ให้เราได้ลองสอนเคลื่อนไหวเด็ก โดยอาจารย์ให้เราออกมาศาธิตการสอนให้เพื่อนดู อาจารย์เป็นคนสอนและเราเป็นเด็ก จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มเพื่อไปคิดว่าสอนและพูดคุยกันในกลุ่ม


ขั้นตอนการสอนคือ

ครูต้องสร้างข้อตกลงก่อน เช่น ถ้าครูเคาะ 1 ครั้งให้เด็กเดินไปทิศทางไหนก็ได้อย่างอิสระ 1 ก้าว
ถ้าครูเคาะ 2 ครั้งให้เด็กเดินไปทิศทางไหนก็ได้อย่างอิสระ 2 ก้าว
ถ้าครูเคาะร่วงๆให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องอย่างอิสระ
ถ้าเคาะ 2 ครั้งติดกันดังๆ ให้เด็กหยุด

ขณะครูสอนเราต้องเคลื่อนที่ไปพร้อมๆกับเด็กด้วย โดยครูต้องอยู่ข้างนอกวงกลมอย่าหันหลังให้เด็กเด็ดขาด เพื่อที่คุณครูจะได้มองเห็นเด็กๆทุกคน











เมื่อทำกิจกรรมเสร็จอาจารย์ก็นำเครื่องเคาะจังหวะที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้มาให้เราดู เพื่อเป็นแนวทางให้เราได้คิดว่าเราจะทำเครื่องเคาะจังหวะแบบใด









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้รู้จักขั้นตอนในการสอนเคลื่อนไหวเด็ก ได้เห็นเครื่องเคาะจังหวะจากวัสดุเหลือใช้ทำให้เรามีแนวทางในการทำงาน

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียน มีความสุขกับการทำกิจกรรม 

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้คำแนะนำขณะลองสอนเนื่องจากยังมีติดขัดบ้าง อาจารย์ก็คอยให้กำลังใจ





บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
เวลา 12.30- 14.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

เรียนเรื่องสมรรถนะทั้ง 7 ของเด็กปฐมวัย

ความหมาย
สมรรถนะ หมายถึง พฤติกรรมที่บ่งชี้ของแต่ละวัย ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3 ปี วิ่งและหยุดได้
4 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่าง ความจำ
3 ปี ท่องคำคล้องจองสั้นๆได้
4 ปี บอกชื่อวันได้
5ปี บอกหมายเลขโทรศัทพ์ได้

ความสำคัญ

ทำให้พ่อแม่มีความรู้และเข้าใจเด็กมากขึ้น
ตระหนักในความสำคัญของพัฒนาการของเด็ก
อบรมเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
ชี้แนะเรื่องพัฒนาการของเด็ก

สมรรถนะของเด็ก 7 ด้าน มีดังนี้

การเคลื่อนไหวและสุขภาพกาย
พัฒนาการด้านสังคม
พัฒนาการด้านอารมณ์
พัฒนาการด้านการคิด/สติปัญญา
พัฒนาการด้านภาษา
พัฒนาการด้านจริยธรรม
พัฒนาการด้านการคิดสร้างสรรค์

การปฎิบัติต่อเด็กของผู้ดูแลเด็ก ครูและอาจารย์

รักเด็กเป็นที่ตั้ง
ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
เข้าใจกระบวนการพัฒนาการของเด็ก
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
สร้างสื่อเรียนรู้ให้เด็กสนใจ
สนับสนุนให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น
เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก
เข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างเด็ก
ชี้ชวนให้เด็กรู้จักตนเองและสิ่งรอบตัว
สังเกตเด็กและพฤติกรรมของเด็ก








การนำไปประยุกต์ใช้

รู้เกี่ยวกับสมรรถนะของเด็กทำให้เราเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น

ประเมินผล

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน จดตามที่อาจารย์สอนถ้าจดไม่ทันก็เอาโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายรูปไว้เพื่อนำไปทบทวน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี อธิบายเพิ่มเติมทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการยกตัวอย่างให้เราได้มองเห็นภาพ





วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
เวลา 14.30-17.30 น.